วันจันทร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2551

แผนการสอน วิชาศิลปะ สาระที่ 1 ทัศนศิลป์

แผนการจัดการเรียนรู้ ที่ 2
กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระที่ 1 ทัศนศิลป์ รหัสวิชา ศ 30101 ช่วงชั้นที่ 3 (ม.1-3)
หน่วยที่ 2 เรื่อง ทัศนศิลป์ เวลา 2 ชั่วโมง
...............…………………………………………………...................................
สาระสำคัญ
ทัศนศิลป์ เป็นผลงานศิลป์ที่มนุษย์สร้างขึ้น เพื่อมุ่งแสดงความงดงาม และความพึงพอใจให้ประจักษ์แก่คนทั่วไป มากกว่ามุ่งสนองตอบทางด้านประโยชน์ใช้สอยทางร่างกาย และการรับรู้ผลงานทัศนศิลป์ผ่านประสาทสัมผัสทางสายตา ซึ่งอาจจะเรียกว่า ศิลปะที่มองเห็นก็ได้
ทัศนศิลป์ประกอบด้วยศิลปะ 4 ประเภท คือ
1. จิตรกรรม
2. ประติมากรรม
3. สถาปัตยกรรม
4. ภาพพิมพ์
ทัศนศิลป์แปลความหมายตรงตัวได้ความว่า ศิลปะที่รับรู้ได้ด้วยการมองเห็นด้วยสายตา จึงก่อให้เกิดอารมณ์ ความรู้สึกสะเทือนใจ ลักษณะของผลงานทัศนศิลป์ เป็นเรื่องของการสนองตอบสัมผัสทางสายตา อันได้แก่ มีรูปร่าง รูปทรง มีสีสัน กินพื้นที่ในอากาศ สามารถจับต้องได้
ผลการเรียนรู้
1. อธิบายความหมายของทัศนศิลป์ได้
2. จำแนกความแตกต่างระหว่างทัศนศิลป์และวิจิตศิลป์ได้
3. อธิบายลักษณะขององค์ประกอบงานทัศนศิลป์ได้
สาระการเรียนรู้
ประเภทของงานทัศนศิลป์
จิตรกรรม
จิตรกรรม หมายถึง การขีดเขียนหรือการระบายสีฝุ่น สีน้ำ สีน้ำมัน สีวิทยาศาสตร์ต่างๆ ลงบนพื้นผิววัสดุที่มีความราบเรียบ เช่น กระดาษ ผ้า แผ่นไม้ ผนัง เพดาน หรือผิวหน้าของวัตถุอื่นๆ ให้เกิดเรื่องราวและความงดงามตามความนึกคิดจินตนาการของผู้วาด
จิตรกรรมมีลักษณะเป็น 2 มิติ คือ มีเพียงความกว้างและความยาว แต่น้ำหนักสีที่แตกต่างกันทำให้เกิดความตื้นและลึกขึ้น จนสามารถให้ความรู้สึกทางการมองของผู้ดูเสมอนเป็น 3 มิติ คือ ความกว้าง ความยาว และความลึก
จิตรกรรมที่นิยมทำกันมีหลายชนิด เช่น
- จิตรกรรมคนเหมือน
- จิตรกรรมคน
- จิตรกรรมทิวทัศน์บก
- จิตรกรรมทิวทัศน์ทะเล
- จิตรกรรมสิ่งก่อสร้าง
- จิตรกรรมหุ่นนิ่ง
- จิตรกรรมสัตว์
- จิตรกรรมฝาผนัง
- จิตรกรรมประกอบเรื่อง
- จิตรกรรมคนเหมือน มีลักษณะเป็นภาพเขียนครึ่งตัว แสดงใบหน้าเด่นชัด และเหมือนจริง โดยเขียนจากผู้เป็นแบบหญิงหรือชาย
- จิตรกรรมคน มีลักษณะเป็นภาพเขียนคนตั้งแต่ศีรษะจรดเท่า แสดงสัดส่วนกล้ามเนื้อและท่าเหมือนจริง อาจเขียนจากแบบหรือจากความนึกคิดเป็นหญิงหรือชาย
- จิตรกรรมทิวทัศน์บก เป็นภาพเขียนที่ต้องการแสดงความงดงามของพื้นดิน ต้นไม้ และภูมิประเทศ ในเวลาและบรรยากาศหนึ่ง จิตรกรรมทิวทัศน์บกจะมีพื้นดินประมาณ 3 ใน 4 ส่วนของภาพจิตรกรรมทิวทัศน์บก
- จิตรกรรมทิวทัศน์ทะเล เป็นภาพเขียนที่มีลักษณะคล้ายจิตรกรรมทิวทัศน์บก แต่แตกต่างที่ต้องการแสดงความงดงามของพื้นน้ำ ซึ่งไม่ได้หมายถึงทะเลเพียงอย่างเดียว จิตรกรรมนี้จะมีพื้นที่น้ำ 3 ใน 4 ส่วนของภาพ
- จิตรกรรมสิ่งก่อสร้าง เป็นจิตรกรรมที่มุ่งแสดงความงดงามของอาคารสิ่งก่อสร้าง ในเรื่องโครงสร้าง เส้นและแสงเงา ซึ่งอาจจะมีความสัมพันธ์กับภูมิประเทศหรือเป็นเพียงอาคาร สิ่งก่อสร้างอย่างเดียวก็ได้
- จิตรกรรมหุ่นนิ่ง เป็นจิตรกรรมที่เขียนจากแบบซึ่งจักวางไว้ ส่วนใหญ่มักจะเป็นวัสดุเครื่องใช้ ข้าวของต่างๆ รวมไปถึงดอกไม้และผลไม้ จิตรกรรมนี้ต้องการแสดงความงามของรูปทรง สี และแสงเงา
- จิตรกรรมฝาผนัง เป็นภาพเขียนตกแต่งอาคารและสิ่งก่อสร้าง มักเขียนบนผนัง เป็นเรื่องราวต่างๆ ตามต้องการ ในประเทศไทยพบจิตรกรรมฝาผนังตามโบสถ์ วิหาร โดยเขียนเป็นเรื่องราวพุทธประวัติ และวรรณคดี
- จิตรกรรมประกอบเรื่อง เป็นภาพที่เขียนขึ้นเพื่อใช้ประกอบเรื่องราวต่างๆ เช่น การโฆษณา และงานหนังสือ มุ่งหมายให้ผู้พบเห็นเกิดความรู้สึกคล้อยตามเรื่องราวที่ต้องการบอกเล่า
ประติมากรรม
ประติมากรรม หมายถึง การปั้นและการแกะสลัก เพื่อให้เกิดรูปทรงใหม่ตามต้องการ โดยใช้วัสดุต่างๆ เช่น ดินเหนียว ดินน้ำมัน ขี้ผึง ไม้ หิน โลหะ ปลาสเตอร์ ปูนซีเมนต์ เป็นต้นคำว่าประติมากรรมยังหมายรวมไปถึงกระบวนการในการเพิ่มลดวัสดุให้เกิดความงามด้วย สำหรับคำว่า ปฏิมากรรม มักนิยมใช้เรียกผลงานปั้นแกะสลักที่เกี่ยวข้องกับศาสนา เช่น พระพุทธรูป
ประติมากรรมที่นิยมทำกันหลายอย่าง เช่น
- ประติมากรรมร่องลึก
- ประติมากรรมนูนต่ำ
- ประติมากรรมนูนสูง
- ประติมากรรมลอยตัว
- ประติมากรรมร่องลึก เป็นการสลัก หรือนำส่วนย่อยออกจากส่วนใหญ่ ให้เกิดเป็นภาพหรือลวดลายต่างๆ มีลักษณะขุดลึกลงไปจากผิวหน้าของวัตถุเป็นลายเส้นหรือภาพขนาดต่างๆ เช่นการสลักหยวก หรือแกะสลักผลไม้
- ประติมากรรมนูนต่ำ เป็นการปั้นหรือสลักโดยให้ภาพที่เกิดนูนขึ้นจากพื้นหลังเพียงเล้กน้อย อาศัยแสงเงาช่วยให้ความรู้สึกตื้นทางการมอง เช่น รูปบนเหรียญต่างๆ
- ประติมากรรมนูนสูง เป็นการปั้นหรือสลักให้รูปที่ต้องการนูนขึ้นจากพื้นหลังมากกว่าครึ่ง เป็นรูปที่สามารถแสดงความตื้นลึกอย่างตามความเป็นจริง นิยมทำเป็นรูปคนหรือสัตว์ เช่น ประติมากรรมที่ฐานอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
- ประติมากรรมลอยตัว เป็นการปั้นหรือสลักให้เกิดขึ้นมีลักษณะที่สามารถมองเห็นได้โดยรอบ โดยอาจวางหรือตั้งอยู่บนฐานก็ได้ เช่น พระบรมรูปทรงม้า หรือพระประธานในโบสถ์

สถาปัตยกรรม
สถาปัตยกรรม หมายถึง ศิลปะและวิทยาแห่งการก่อสร้าง ที่นำมาทำเพื่อสนองความต้องการในด้านวัตถุและจิตใจ มีลักษณะเป็นสิ่งก่อสร้างที่สร้างขึ้นอย่างงดงาม ถูกต้องตามหลักวิชา ผ่านกระบวนการออกแบบ เขียนแบบก่อสร้าง มีความเหมาะสม สะดวกในการใช้งานและมั่นคงแข็งแรง
สถาปัตยกรรมมี 2 ลักษณะ คือ
1. สถาปัตยกรรมประจำชาติ
2. สถาปัตยกรรมสากล
ภาพพิมพ์
ภาพพิมพ์ หมายถึง ผลงานศิลปะที่สร้างขึ้นโดยผ่านกระบวนการพิมพ์จากแม่พิมพ์ชนิดต่างๆ เช่น ไม้ กระดาษ ยาง โลหะ ภาพที่เกิดขึ้นลักษณะคล้ายกับจิตรกรรมมี 2 มิติ คือ ความกว้างและความยาว แต่สามารถมองเห็นเป็น 3 มิติ คือ ความกว้าง ความยาว ความลึก

คุณค่าของทัศนศิลป์
ในการชื่นชมผลงานทัศนศิลป์ อันได้แก่ จิตรกรรม ประติมากรรม และสถาปัตยกรรม มักพิจารณาจากคติ ความเชื่อ ความนิยม และประโยชน์ใช้สอยหรือที่เรียกว่า คุณค่าทางศิลปะ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประการ คือ
1. คุณค่าทางเรื่องราว
2. คุณค่าทางรูปทรง
คุณค่าทางเรื่องราว หมายถึง คติความเชื่อ และความหมายที่แฝงอยู่ในผลงานศิลปะเป็นการบอกเล่าเนื้อหาและสาระสำคัญที่ผู้สร้างศิลปะต้องการถ่ายทอดและบอกกล่าว รวมถึง ประวัติศาสตร์ ความเป็นมาในแง่ต่างๆของศิลปกรรมนั้นๆ
คุณค่าทางเรื่องราวทางทัศนศิลป์ที่ทำกันพอประมวลได้ดังนี้
• เรื่องราวเกี่ยวกับความเชื่อถือ ศรัทธา
• เรื่องราวเกี่ยวกับศาสนา
• เรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์
• เรื่องราวเกี่ยวกับการเมือง การปกครอง
• เรื่องราวเกี่ยวกับวรรณคดี
คุณค่าทางรูปทรงหมายถึง เกณฑ์ความงดงามที่มีอยู่ในศิลปะ ซึ่งสามารถรับรู้และยอมรับกันโดยทั่วไป เป็นการประสานกันขององค์ประกอบทางความงามที่สามารถรับรู้ได้ด้วยตาที่ผู้สร้างผลงานศิลปะจินตนาการและออกแบบขึ้นด้วยความชำนาญ
ส่วนประกอบที่ทำให้เกิดความงามของทัศนศิลป์มี 6 ประการ คือ
1. เส้น
2. รูปร่าง รูปทรง
3. จังหวะและช่องไฟ
4. น้ำหนัก
5. สี
6. พื้นผิว
1. เส้น หมายถึง การต่อกันของจุดที่นำไปใช้ในการแสดงขอบเขต และส่วนละเอียดของสิ่งต่างๆ ในภาพประกอบด้วย เส้นตั้ง เส้นนอน เส้นเฉียง เส้นโค้ง เส้นหยัก เส้นขด เส้นแต่ละชนิดจะให้ความรู้สึกในการรับรู้ต่างๆกัน
2. รูปร่าง หมายถึง การต่อกันของเส้นตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป และสิ่งที่แสดงขอบเขตรอบนอกของวัตถุสิ่งของต่างๆ มีลักษณะเป็น 2 มิติ แสดงความกว้างและความยาว รูปร่างมักอยู่รวมกับรูปทรงและเรียกควบคู่กัน รูปทรง สิ่งที่มีลักษณะ 3 มิติ แสดงความกว้าง ความยาว ความหนา ในทางศิลปะมีความหมายรวมไปถึงความหนาอันเกิดจากแสง-เงา และน้ำหนักสีบนผิวหน้าของจิตรกรรมด้วย
3. จังหวะและช่องไฟ หมายถึง ความเหมาะสม กลมกลืนในการจัดวางรูปและพื้น
4. น้ำหนัก หมายถึง ความเข้มของสีที่ทำให้เกิดความรู้สึกใกล้และไกล มิได้หมายถึง ความต้านทานแรงดึงดูดของโลก โดยปกติน้ำหนักของสีจะเทียบเป็นขาว-ดำ น้ำหนักน้อยสุดจะเป็นสีขาว แล้วเพิ่มขึ้นที่ละน้อยจนเป็นดำซึ่งหนักที่สุด
5. สี หมายถึง ความเข้มที่ปรากฏแก่ตา ในทางวัตถุสีมีลักษณะเป็นสสารชนิดหนึ่งที่สามารถระบาย ย้อม ฉาบ เปลี่ยนสีผิวหน้าวัตถุให้เป็นอย่างใหม่ได้
6. พื้นผิว หมายถึง พื้นนอกของวัตถุสิ่งของที่แสดงความขรุขระทางการมองเห็น
ส่วนประกอบทั้ง 6 นี้ จะมีอยู่ในผลงานทัศนศิลป์ทั้งประเภทจิตรกรรม ประติมากรรมและสถาปัตยกรรม ในการชื่นชมความงามของทัศนศิลป์ทางด้านรูปแบบ จึงจำเป็นต้องมองจากส่วนประกอบทั้ง 6 ประการ ในทำนองกลับกันเมื่อต้องการสร้างผลงานทัศนศิลป์อย่างใดอย่างหนึ่ง จำเป็นต้องนำส่วนประกอบทั้ง 6 นี้มาออกแบบเข้าด้วยกันกิจกรรมการเรียนการสอน
ขั้นตอนการสอนหรือกิจกรรมของครู ขั้นตอนการเรียนหรือกิจกรรมของนักเรียน
1. ขั้นเตรียม
1.1 จัดเตรียมวางแผนการสอน การเตรียม ตำรา เอกสารประกอบการสอน
1.2 เตรียมวัสดุ อุปกรณ์และสื่อประกอบการสอน
1.3 นำเสนอข้อตกลงและแนวปฏิบัติตนของ นักเรียนในการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียน การสอน2. ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
2.1 ชี้แจงวัตถุประสงค์ประจำหน่วยการเรียน
2.2 การนำเข้าสู่บทเรียน หน่วยการเรียนรู้ ที่ 2 ทบทวนความรู้พื้นฐานเดิม กระตุ้นความสนใจ ใคร่รู้ เกี่ยวกับเรื่องของศิลปะ
2.3 มอบงานให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าเอกสาร ตำรา และเอกสารประกอบการสอนประจำหน่วยการเรียน เพื่อศึกษาความรู้เรื่องทัศนศิลป์
2.4 อธิบายความหมายและประเภทของทัศนศิลป์ คุณค่าของทัศนศิลป์ คุณค่าทางเรื่องราวและรูปทรง
3. ขั้นฝึกปฏิบัติ
3.1 สาธิตวิธีการสร้างงานจิตรกรรมโดยใช้คุณค่าทางเรื่องราว และประติมากรรมโดยใช้คุณค่าทางรูปทรง
3.2 กำหนดหัวข้องานฝึกปฏิบัติตามใบมอบงาน และการให้คำแนะนำต่างๆ ตามขั้นตอนการทดลอง และสอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรมในการปฏิบัติงานเป็นระยะ
4. ขั้นสรุปผลตรวจสอบการสรุปผลงาน
5. ขั้นวัดผล ประเมินผล
5.1 ทดสอบวัดความรู้
5.2 ประเมินผลการปฏิบัติงานนักเรียน
5.3 สังเกตพฤติกรรม
1. ขั้นเตรียมการเตรียมความพร้อม มีระเบียบวินัยในตนเอง มีความรับผิดชอบ กล้าคิด กล้าแสดงออก ตรงต่อเวลา มีความสนใจใฝ่รู้
2. ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
2.1/2.2 มีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น ในกิจกรรมการ เรียนด้วยความสนใจ
2.3 ศึกษาค้นคว้าเอกสารตำราความรู้เรื่องทัศนศิลป์ จากมุมวิชาการ ห้องสมุด และแสดงความคิดเห็นร่วมกัน
2.4 ร่วมอภิปรายแสดงความคิดเห็น การซักถาม ตอบปัญหา จดบันทึกรายละเอียด
3. ขั้นฝึกปฏิบัติ
3.1 ศึกษาวิธีการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ได้อย่างถูกต้องตามกระบวนการ
3.2 ทดลองฝึกปฏิบัติกิจกรรมทัศนศิลป์ ในงานจิตรกรรม และประติมากรรมตามใบงานด้วยตนเอง พร้อมทั้งการสังเกต และรวบรวมข้อมูลต่างๆเพื่ออภิปราย
4. ขั้นสรุปผลสรุปการจดบันทึกรายละเอียด นำเสนอผลงาน
5. ขั้นวัดผล ประเมินผล
5.1 ทำแบบทดสอบวัดความรู้หลังเรียน
5.2 ประเมินผลการปฏิบัติงานตนเอง
งานที่มอบหมาย หรือกิจกรรม
ก่อนเรียน
- นักเรียนศึกษาค้นคว้าเอกสารตำราประจำหน่วยการเรียน
- การเตรียมวัสดุอุปกรณ์เพื่อใช้ประกอบการเรียน
ขณะเรียน
- นักเรียนศึกษาค้นคว้ารายละเอียดความรู้เพิ่มเติม
-ร่วมอภิปรายแสดงความคิดเห็น
-จดบันทึกรายละเอียดความรู้ที่ได้รับเพิ่มเติม
-ฝึกปฏิบัติงานจิตรกรรม และประติมากรรมโดยใช้คุณค่าทาง ทัศนศิลป์
หลังเรียน
- นักเรียนทำแบบทดสอบวัดความรู้เรื่องทัศนศิลป์
-สรุปผลการนำเสนอผลงาน
-ศึกษาเนื้อหารายละเอียดและกิจกรรมปฏิบัติในสัปดาห์ต่อไป
สื่อการเรียนการสอน สื่อสิ่งพิมพ์ เอกสารประกอบการเรียน
-ใบความรู้หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 สื่อโสตทัศน์ ของจริง ภาพตัวอย่างผลงานการวัดผล / ประเมินผลก่อนเรียน
-สังเกตพฤติกรรมการเรียน ใช้แบบประเมินคุณธรรม จริยธรรม ขณะเรียน
-สังเกตพฤติกรรมการเรียน ใช้แบบประเมินคุณธรรม จริยธรรม หลังเรียน
-ทดสอบวัดความรู้เรื่องทัศนศิลป์ ใช้แบบทดสอบวัดความรู้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 2
-ตรวจผลงานปฏิบัติการออกแบบภาพทางคุณค่าทางทัศนศิลป์ตามหลักการใช้แบบประเมินผลงานปฏิบัติ หน่วยการเรียนรู้ที่ 2
บันทึกหลังการสอน
ผลการใช้แผนการสอน
…………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………....................................
ผลการใช้แผนการสอนของนักเรียน
…………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………..........................................................................................




แบบทดสอบ หน่วยการเรียนรู้ที่ 2
กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระที่ 1 ทัศนศิลป์ รหัสวิชา ศ 30101
เรื่อง ทัศนศิลป์
คำชี้แจง ให้นักเรียนเติมคำหรือข้อความตามความเข้าใจ
1. ศิลปะที่รับรู้ความงดงามด้วยการมอง เรียกว่า…………………………………………….
2. ศิลปะที่รับรู้ความงดงามด้วยความรู้สึกนึกคิด ได้แก่2.1 ………………………………………………………………………………………2.2 ………………………………………………………………………………………
3. ศิลปะที่มีลักษณะเป็น 3 มิติ กินพิ้นที่ในอากาศ สามารถจับต้องได้ตรงกับความหมายของ…………………………………………………………………………………………
4. ทัศนศิลป์มี 4 ประเภท คือ
4.1 …………………………..
4.2 …………………………..
4.3 …………………………..
4.4 …………………………..
5. ภาพวาดระบายสี เรียกว่า …………………………………………………………………
6. การปั้นแกะสลักเป็นทัศนศิลป์ประเภทหนึ่ง เรียกว่า ………………………………………
7. ประติมากรรมเกี่ยวกับศาสนานิยมเรียก ……………...…………………………………..
8. ศิลปวิทยาแห่งการก่อสร้าง หมายถึง ……………………………………………………..
9. เราชื่นชมความงามในงานทัศนศิลป์จากคุณค่า 2 อย่าง คือ
9.1 ……………………………….
9.2 ……………………………….
10. ในการสร้างผลงานทัศนศิลป์ต้องใช้ส่วนประกอบ 6 ประการ ได้แก่
10.1 ……………………………..
10.2 ……………………………..
10.3 ……………………………..
10.4 ……………………………..
10.5 ……………………………..
10.6 ……………………………..




ใบงาน
1. มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับคุณค่าทางทัศนศิลป์
2. อธิบายความหมายและประเภทของทัศนศิลป์
3. อธิบายลักษณะขององค์ประกอบงานทัศนศิลป์ได้
4. ปฏิบัติงานจิตรกรรมโดยใช้คุณค่าทางเรื่องราว
5. ปฏิบัติงานประติมากรรมโดยใช้คุณค่าทางรูปทรง
6. มีระเบียบวินัยในตนเอง
1. ความรู้/เรื่องทัศนศิลป์
-จิตรรรม
-ประติมากรรม
-สถาปัตยกรรม
-ภาพพิมพ์
2. ทักษะ/ปฏิบัติงานทัศนศิลป์ประเภทต่างๆ โดยพิจารณาจากคุณค่าทางทัศนศิลป์หรือที่เรียกว่าคุณค่าทางศิลปะ
เครื่องมือ อุปกรณ์ วัสดุ
1. ดินสอขนาด HB,ยางลบ
2. ไม้บรรทัด
3. พู่กัน จานสี กระป๋องน้ำ ผ้าเช็ดมือ
4. เครื่องมือปั้น
5. กระดานรองเขียน กระดานรองปั้น
วาดเขียนเตรียม
1. กระดาษวาดเขียน 100 ปอนด์
2. กระดาษการ์ดเทา-ขาว
3. สีโปสเตอร์ สีน้ำ สีพาสเตล
4. ดินน้ำมัน ดินหอม
เกณฑ์การวัดผลประเมินผล
อัตราส่วนการประเมินรายวิชาระหว่าง การฝึกปฏิบัติ : คุณธรรม จริยธรรม การฝึกปฏิบัติ และผลงาน 80 คะแนน คุณธรรม จริยธรรม 20 คะแนน
1.กิจกรรมปฏิบัติประจำหน่วย เรียน 50%
1.ระเบียบวินัย : ตรงต่อเวลา,แต่งกายถูกระเบียบ,รักษาความสะอาดห้องปฏิบัติงาน 5%
2.ผลงานประจำหน่วยเรียน 30%
3.ความสนใจ : ตั้งใจเรียน,การซักถาม,ศึกษาด้วยตนเอง 5%
3.ความเชื่อมั่นในตนเอง กล้าตัดสินใจทำงาน,แสดงความคิดเห็น 5%
4.ความพร้อมในการเรียน เตรียมวัสดุอุปกรณ์, การรักษาความปลอดภัย 5%รวม 80% รวม 20%
สรุปการวัดผลการเรียน
ระดับการประเมิน 4 3 2 1 0
ระดับช่วงคะแนน
80% - 100%
70% - 79%
60% - 69%
50% - 59%
0% - 49%


1 ความคิดเห็น:

arjarnH กล่าวว่า...

คุณอาทิตย์ เรามี "นามสกุล" เดียวกัน
ไม่ทราบว่าเป็นญาติกันหรือเปล่า ถ้าเป็นก็ดีซินะ
เพราะ มูลเพชร เหลือน้อยเต็มที

ติดต่อกลับมาที่ unclerom@hotmail.com